วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

เขาวรนาถบรรพต(เขากบ) ตอน2


วัดวรนาถบรรพต เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๘ ถนนธรรมวิถี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐๙ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๙๖๓๖ ตั้งวัดเมื่อ วันที่ ๒๑ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔
อาณาเขต ทิศเหนือ จดถนนสระสวรรค์

ทิศใต้ จดถนนธรรมวิถี

ทิศตะวันออก จดถนนธรรมวิถี ซอย ๕

ทิศตะวันตก จดถนนมธรรมวิถี ซอย ๙
ประวัติความเป็นมา
วัดวรนาถบรรพต ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๑๙๖๒ ในสมัยสุโขทัย ผู้สร้างคือพญาบาลเมือง สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พญารามผู้น้อง ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ในระหว่างทำศึกสงครามกับหัวเมืองฝ่ายใต้ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปรากฏในศิลาจารึก ๒ หลัก ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ไปจากยอดเขากบใกล้กับรอยพระพุทธบาทจำลอง และได้จากเมืองนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร วัดวรนาถบรรพต เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดกบ” หรือ “ วัดเขากบ” เหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ก็เพราะเรียกตามชื่อของภูเขา ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่เชิงเขากบ หรือมีชื่อเรียกตามหลักฐานในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดปากพระบาง” ต่อมาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพฯ ซึ่งสมัยนั้นท่านเจ้าคณะมณฑลได้มาตรวจการคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตเห็นว่า “วัดกบ” หรือ “วัดเขากบ” ตั้งอยู่ที่เชิงเขาจึงได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่และเรียกเป็นทางการว่า “วัดวรนาถบรรพต” อย่างไรก็ตามประชาชนโดยทั่วไปมักเรียกชื่อ วัดกบ หรือ วัดเขากบ กันจนติดปากมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

เขาวรนาถบรรพต(เขากบ)


เขาวรนาถบรรพต (เขากบ)

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์เป็นภูเขาเตี้ยๆเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเขากบ สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ185.50 เมตร

เขาวรนาถบรรพต (เขากบ)อยู่หลังตัวเมืองปากน้ำโพ ลานกว้าง บริเวณเชิงเขา ได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนดอกไม้ อันงดงาม เป็นที่พักผ่อน ในยามเย็นของชาวเมือง วัดบนยอดเขากบนี้ ตามประวัติกล่าวว่า สร้างในสมัยพระยาลิไท แห่งสุโขทัยมีอายุประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ นอกจากเจดีย์แล้วก็มีวิหารประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาแล้ว ก็สามารถมองเห็น ทิวทัศน์อันงดงามของ ตัวเมืองปากน้ำโพด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือจะมองเห็น บึงบอระเพ็ด ส่วนทางด้านตะวันตกจะเป็นป่าใหญ่ และทิวเขา
เขาวรนาถบรรพต เป็นที่ตั้งของวัดเขากบ ซึ่งได้รับ ยกย่องจากกรมการศาสนา และมหาเถรสมาคมให้เป็น วัดพัฒนาตัวอย่างเพื่อ พ.ศ. 2509 มี รูปหล่อพระหลวงพ่อทอง อันเป็นที่เคารพนับ ถือของจังหวัดนครสวรรค์ประดิษฐานอยู่ในวิหารข้างเจดีย์ใหญ่ สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย มีวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธ บาทจำลอง เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสามารถมองเห็น บึงบอระเพ็ด และทางด้านตะวันตกเป็นป่าใหญ่และ ทิวเขา บริเวณเป็นเขาใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของ สถานีถ่ายทอดโทรทัศน์ช่อง 3,5,7 ,9 และช่อง 11 จากกรุงเทพมหานคร ไปสู่จังหวัดใน ภาคเหนือ สิ่งอำนวยความสะดวกในเขาวรนาถบรรพต
ลานกว้างบริเวณเชิงเขาได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนดอกไม้งดงาม เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เส้นทางเข้าสู่เขาวรนาถบรรพต
จากถนนดาวดึงส์ขึ้นสู่เขาวรนาถบรรพตได้ 2 ทาง คือ โดยการเดินขึ้นบันไดจำนวน 1,637 ขั้น หรือโดยทางรถยนต์

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

อุทธยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด

อุทธยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นส่วนหนึ่ง ของบึงบอระเพ็ด โดยอยู่ทางทิศใต้ของบึงห่างจากตัวเมืองจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามเส้นทางสายนครสวรรค์ ท่าตะโก อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกองอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ โดยการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่า ของบึงบอระเพ็ด โดยมีอาณาเขตประมาณ 212.8 ตารางกิโลเมตร โดยที่นี่จะเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำนานาชนิด เชื่อกันว่าที่อุทธยานนกน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแหล่งที่มีนกน้ำอาศัยอยู่เยอะที่สุดในประเทศไทย คาดว่าที่นี่มีนกน้ำอาศัยอยู่ ประมาณ 43 ชนิด นกที่พบบ่อยมากที่สุดก็มี นกเป็ดน้ำ ซึ่งนกเป็ดน้ำที่พบอยู่ที่นี่ก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ นอกจากนี้ก็มี นกนางนวล นกกระยาง นกกระสา นกตะกรุม นกตะกราม นกกินปลา นกกระเต็น นกอีแจว นกอีโก้ง นกอีล้ำ นกพริก นกนางแอ่น นกคับแค นกกระจาบ รวมทั้งนกพันธุ์ที่หายากที่พบที่นี่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2511 และสันนิษฐานว่ามีที่นี่แห่งเดียว คือนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ในฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธุ์ของทุกปี จะมีนกน้ำจำนวนมากมายนับแสนนับล้านตัวจะบินอพยพมาจากที่อื่น บางชนิดก็มาจากไซบีเรีย เพื่อมาหาอาหาร
บริเวณริมบึงของอุทธยานนกน้ำบึงบอระเพ็ด เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีที่หนึ่ง ของจังหวัดนครสวรรค์
นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นสถานที่พักผ่อนกางเต็นท์สัมผัสบรรยากาศยามค่ำคืนของบึงบอระเพ็ด และมีบริการเรือเช่าเพื่อไปชมนกน้ำนานาชนิด


วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

แก่งเกาะใหญ่ - แก่งลานนกยูง


แก่งเกาะใหญ่ - แก่งลานนกยูง
อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในเขตบ้านตลิ่งสูง ตำบลแม่เล่ย์ อำเภอแม่วงก์ โดยมีลักษณะเป็นหินใหญ่มากมาย กลางลำน้ำแม่วงก์ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี แก่งหินดังกล่าวมีลักษณะเป็นทั้งแงน้ำ หาดทราย ลานหิน โขดหินขนาดต่างๆจำนวนมากมาย บางช่วงลดหลั่นกันเป็นน้ำตกน้อยใหญ่มีพันธุ์ไม้ต่างๆขึ้นกลางหิน ป่าโปร่ง ส่วน แก่งลานนกยูงจะมีลักษณะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแก่งเกาะใหญ่ และแก่งลานนกยูง จะนิยมลงเล่นน้ำที่ลำน้ำแม่วงก์ เพราะน้ำใสสะอาดในฤดูฝนกระแสน้ำจะแรงมาก นักท่องเที่ยวบางกลุ่มจะนิยมนั่งเล่น หรือนั่งรับประทานอาหารบนโขดหินหรือลานหิน ริมฝั่งแม่น้ำ หรือกลางลำน้ำแม่วงก์ เนื่องจากมีลานหินใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณแก่งเกาะใหญ่
ปัจจุบันมีชาวบ้านปลูกสร้างร้านค้าและห้องสุขาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทั้งสองแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกัน
การเดินทางมาก็จะถึงแก่งเกาะใหญ่ก่อนโดยเดินทางมาจากตัวเมืองจังหวัดนครสวรรค์ มาถึงตลาดบ้านหนองเบนแล้วเลี้ยวซ้ายไปอำเภอลาดยาว แล้วไปตามทางหลวง ถึงแยกเขาชนกัน บ้านตลิ่งสูงก็จะถึงที่หมาย ระยะทางประมาณ 95 กิโลเมตร



วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

เขาหน่อเขาแก้ว

เขาหน่อ เขาแก้ว อยู่ริมทางหลวงสายพหลโยธิน ช่วงนครสวรรค์ -กำแพงเพชร ใน ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ระยะทางห่างจากตัเมืองนครสวรรค์ประมาณ 45 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบรรพตพิสัย ประมาณ 18 กิโลเมตร เขาหน่อเป็นภูเขาหินปูน มีวัดเขาหน่อตั้งอยู่ที่เชิงเขามีบรรไดขึ้นสู่ถ้ำบนยอดเขา ซึ่งมีมณฑปสร้างด้วยศิลาแลง ภายในมีพระพุทธบาทจำลอง มีถ้ำที่สวยงามหลายถ้ำ เช่นถ้ำค้างคาว ถ้ำพระนอน มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่ปากถ้ำ บริเวณยอดเขามีทิวทัศน์ที่งดงาม ประดับประดาไปด้วยป่าลีลาวดีที่มีอายุนับร้อยปีบริเวณวัดเชิงเขามีฝูงลิงป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก คอยรับประทานอาหารจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือน เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้ารัชกาลที่5 เสด็จประภาสภาคเหนือทางชลมารคสายแม่ปิงเคยประทับพักแรมที่วัดแห่งนี้
ส่วนเขาแก้วอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันมีถ้ำหลายถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่ของค้างคาวมากมายจำนวนนับล้านตัว ในเวลาตอนเย็นใกล้พลบค่ำฝูงค้างคาวจะพากันบินออกหากินทำให้มองเห็นเป็นสายสีดำพลิ้วไปพลิ้วมาเป็นทางยาวดำมืดทั่วท้องฟ้า

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทุ่งหินเทิน


ตั้งอยู่หมู่ที่5 ตำบลปางสวรรค์ กิ่งอำเภอชุมตาบงอยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 70 กิโลเมตร ไปตามถนนพหลโยธินเลี้ยวซ้ายที่แยกหนองเบน ตรงไปอำเภอลาดยาว แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางบ้านหนองจิกรี ตามทางหลวงประมาณ 4 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปทางตลิ่งสูงตามเส้นทาง ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงสี่แยกชุมตาบง เลี้ยวขวาไปทาง อำเภอแม่วงศ์อีกประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะเห็นอยู่ทางด้านซ้ายมือเป็นทุ่งหญ้าเชิงเขาที่มีกลุ่มก้อนหินขนาดใหญ่ตั้งวางซ้อนกันอยู่หลายแห่งหลายรูปแบบ กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เต็มท้องทุ่งในเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ในลักษณะที่สัมผัสกันเพียงเล็กน้อยเหมือนมีคนจับมาวาง นับเป็นสวนหินธรรมชาติที่สวยงามและแปลกประหลาดมหัศจรรย์มาก

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

มออีหืด


ยอดเขาที่ชื่อแปลกๆ ชื่อว่า มออีหืด ท่านผู้อ่านเคยได้ยินชื่อ ซำแฮ๊ก ซำเดี้ยง หมั๊ย เขานี้ก็คงตั้งชื่อมาจากอาการของคนที่กำลังขึ้นสู่ยอดเขาที่บ่งบอกถึงอาการว่ากว่าจะขึ้นถึงได้ก็แทบแย่ ทางอุทยานได้ทำเส้นทางเดินป่าระยะสั้นขึ้นมออีหืด ระยะทาง 1 กิโลเมตรไว้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปชมวิวบนยอดเขา ลักษณะเป็นยอดเขาที่ไม่สูงนัก ระยะทางเดินจากแยกถนนหน้าทางเข้าอุทยานเข้าไปเพียง 1 กิโลเมตร ถึงแม้ระยทางเดินจะสั้นแต่ก็ชันเอาเรื่อง ทางเดินเขียวๆ เหมือนดังในภาพบน ต้นไม้เยอะ ป่าเขียว สวย จุดเด่นของมออีหืดคือเป็นจุดชมวิวและด้านทิศตะวันออกเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก ทางด้านทิศตะวันตกเป็นจุดชมวิว จากจุดนี้สามารถมองเห็นวิวยอดเขาโมโกจูและผืนป่าแม่วงก์และลำห้วยแม่เรวาได้ชัดเจน เส้นทางเดินขึ้นมออีหืดเป็นเส้นทางที่สวยงาม ริมทางมีดอกไม้สวยๆ หลายชนิดให้ชม ถ้าหากมีโอกาสไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติแม่วงก์-แม่เรวา อย่าพลาดที่จะขึ้นไปเที่ยวชม จากที่ทำการหน่วยฯ ใช้เวลาเดินประมาณ 30 นาที ถึงแม้จะชันแต่ก็ไม่ยาก


ล่องแก่งแม่เรวา


ลำห้วยแม่เรวาในช่วงที่ผ่านหน่วยแม่เรวา สายน้ำมีความคดเคี้ยวลดหลั่นไล่ระดับมีแก่งต่างระดับในหลายจุด แต่ละแก่งไม่สูงมากเหมาะสำหรับล่องแก่งเรือยาง และพายเรือแคนนู ทางอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวผจญภัยขึ้น ระยะทางล่องแก่งมีความยาวสายน้ำประมาณ 8 กิโลเมตร โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นล่องแก่งที่อยู่กลางป่าซึ่งอยู่ลึกเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร เดินทางเข้าถึงได้ด้วยเส้นทางสำรวจป่าของหน่วยพิทักษ์อุทยานซึ่งในตอนหลังได้พัฒนาเเป็นเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และใช้เป็นเส้นทางขี่จักรยานเสือภูเขา ผู้ที่ชื่นชอบการขี่จักรยานเสือภูเขาสามารถเช่าจักรยานขี่เข้าไปจนถึงจุดเริ่มล่องแก่งแล้วล่องเรือยาง หรือพายเรือแคนนูออกมา หากไม่ชอบขี่จักรยานก็สามารถเข้าไปยังจุดเริ่มต้นได้ด้วยการนั่งรถอีแต๊กของชาวบ้านซึ่งมาวิ่งให้กับทางอุทยานซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่ง ทางอุทยานมีเรือยางพร้อมด้วยทีมงานที่มีความชำนาญ และอุปกรณ์เชฟตี้ไว้บริการ ค่าใช้จ่าย สำหรับล่องแก่งเรือยาง 1,200 บาท/ลำ/เที่ยว นั่งได้ 5 คน เรือคายัค ลำละ 500 บาท/ลำ/เที่ยว นั่งได้ 2 คน อุปกร์เชฟตี้มีให้ครบ บริการรถอีแต๊กส่งถึงจุดลงเรือ ถ้าหากต้องการปั่นเสือภูเขาไปยังจุดลงเรือทางอุทยานก็มีเสือภูเขาไว้บริการในราคา 100 จุดลงเรือเริ่มจากทางตรงที่กระแสน้ำเรียบปลอดภัย เริ่มต้นต้อนรับด้วยโค้งขวาข้างหน้า พอพ้นโค้งเริ่มมีแก่งต่างระดับให้ได้กรี๊ดกัน และอีกหลายๆ แก่งตลอดลำน้ำ ระดับความยากของแก่งแม่เรวามีระดับ 1,2 , 3 และ 3+ เป็นระดับที่ไม่ยากมากนัก สำหรับการล่องแก่งด้วยเรือแคนนูที่นี่สนุกเพราะในบางช่วงสายน้ำแยกออกเป็นหลายสายเหมือนกับเขาวงกตที่เห็นแล้วงงไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี มีหลายสายน้ำให้เลือกเล่นได้สนุกสนานอีกทั้งทัศนียภาพของสองทางก็สวยงาม หากมองขึ้นไปบนเขาก็จะเห็นจุดชมวิวมออีหืดอยู่ยอดเขาสูงเบื้องหน้า ส่วนคนที่อยู่บนมออีหืดมองลงมาก็เห็นคนพายเรือเย้วๆ อยู่ที่ลำห้วยข้างล่าง ระยะเวลาล่องแก่งตลอดสายน้ำใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง จนถึงแก่งสุดท้ายที่หน้าหน่วยฯ มีชื่อว่าแก่งลานนกยูง เป็นแก่งที่แคบ แก่งสูง และกระแสน้ำแรง เป็นแก่งที่สนุกสนานท้าทาย สำหรับผู้ที่ชอบความตื่นเต้นคงไม่ผิดหวัง สำหรับผู้ที่กลัวแก่งก็สามารถจอดเรือขึ้นฝั่งก่อนได้ แก่งลานนกยูงเป็นจุดสิ้นสุดล่องแก่งระยะทาง 8 กิโลเมตร ขึ้นจากแก่งก็เพลิดเพลินกับการเล่นน้ำที่ลานหิน น้ำที่นี่ใสตลอดปี นอนให้กระแสน้ำนวดตัว ขึ้นจากน้ำเดินไปนิดเดียวก็ถึงจุดพักแรม จะเลือกนอนเต็นท์ นอนบ้านพักหรือนอนโฮมเสตร์ก็ได้

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ชุมชน มอญ ในจังหวัดนครสวรรค์ นั้นมีที่มาเช่นเดียวกับชุมชนมอญอื่น ๆ อีกหลายแห่งในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นกลุ่มชาวมอญที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศรามัญ (ปัจจุบันคือประเทศพม่า) แต่ต้องอพยพจากบ้านเมืองของตน เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ก็ด้วยปัญหาเรื่องการเมือง เมื่อชาวมอญถูกพม่ารุกราน จนกลายเป็นชนชาติที่ไร้แผ่นดิน มาจนกระทั่งทุกวันนี้
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดชนชาติหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณพม่าตอนล่าง เป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมสูง และเป็นแบบอย่างแก่หลายชนชาติ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อบ้านเมืองตกเป็นของพม่า ชาวมอญถูกพม่ากดขี่ข่มเหง และต้องการกลืนชาติมอญให้สิ้นไปจากโลกนี้ ชาวมอญส่วนหนึ่ง จึงอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในเมืองไทย
ชาวมอญ ได้อพยพเข้ามายังแผ่นดินไทย หลายต่อหลายครั้ง เท่าที่ทางการไทยจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง ครั้งแรกคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๐๘๒ ต่อจากนั้น ชาวมอญก็ยังคงอพยพเข้าเมืองไทยมา เป็นระลอก ๆ มากบ้างน้อยบ้าง กระทั่งในสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างมอญกับพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ที่มอญถูกพม่าทำลายล้างอย่างหนัก ไม่สามารถฟื้นตัวและกอบกู้เอกราชของตนมาได้อีก จนทุกวันนี้
และในการอพยพครั้งที่ ๙ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ใน พ.ศ.๒๓๕๗ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อมอญไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระเจดีย์ จึงก่อกบฎขึ้นและถูกพม่าปราบปราม ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่ ราว ๔๐,๐๐๐ คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) เสด็จเป็นแม่กองออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก ปากเกร็ด และพระประแดง
ชาวมอญ ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ (โดยมากเป็นแหล่งที่พระเจ้าแผ่นดินทรงโปรดฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา) และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี (เขตเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทย) ทางอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี
กลุ่มชาวมอญที่อพยพเข้ามาเมืองไทย อย่างเป็นทางการนั้น พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนรอบ ๆ เขตเมืองหลวง ครั้นต่อมาความเจริญของบ้านเมืองขยายตัว พื้นที่ทำกินเริ่มคับแคบ ประกอบกับชาวมอญเหล่านั้น ต้องการแสวงหาช่องทางทำมาหากินใหม่ ๆ จึงได้มีการอพยพโยกย้ายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย และชุมชนมอญบ้านมอญ และชุมชนมอญอื่น ๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ จึงก่อเกิดขึ้นมาด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
บ้านมอญ เป็นชุมชนชาวมอญที่อพยพโยกย้ายมา จากชุมชนมอญย่านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และย่านสามโคก จังหวัดปทุมธานี แต่ไม่มีการจดบันทึกเหตการณ์เอาไว้อย่างชัดเจน ว่าอพยพมาเมื่อใด ปีไหนแน่ มีเพียงคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ และความเป็นเครือญาติของคน ในชุมชนเหล่านี้ ที่ยังคงมีการไปมาหาสู่ถึงกันไม่ขาดสาย
ชาวมอญ ที่ปากเกร็ด และสามโคกส่วนใหญ่มีอาชีพคล้าย ๆ คนไทยโดยทั่วไป ได้แก่ ทำนา ทำสวน และทำเครื่องปั้นดินเผา ทำอิฐมอญ ในอดีตอาชีพเครื่องปั้นดินเผานั้น นับว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะภาชนะต่าง ๆ ภายในครัวเรือนล้วนเป็นดินเผาทั้งสิ้น ซึ่งอาชีพดังกล่าวได้ก่อให้เกิดอีกอาชีพหนึ่งตามมา คือ พ่อค้าโอ่ง และการค้าขายเครื่องปั้นดินเผาทางเรือ ทำให้ชุมชนมอญบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตลอดทั้งสาย ลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำป่าสัก มีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้ากันเสมอ และบ่อยครั้ง ลงท้ายด้วยการแต่งงานระหว่างคนมอญ ในชุมชนเหล่านั้น กล่าวคือในอดีตชาวมอญปากเกร็ดและสามโคก มักเดินทางขึ้นเหนือลำน้ำเจ้าพระยาไปขายเครื่องปั้นดินเผาอยู่เสมอ รวมทั้งย่านจังหวัดนครสวรรค์นี้ด้วย เมื่อเครื่องปั้นดินเผาหมด ก็จอดเรือเลือกทำเลถางป่าทำการเพาะปลูกข้าว และพืชไร่ เมื่อข้าวและพืชผักให้ผลผลิต ก็จะเก็บเกี่ยวลงเรือกลับปากเกร็ด และสามโคก แต่ภายหลังสภาพเส้นทางการคมนาคมเปลี่ยนแปลงไป มีการสร้างเขื่อนขวางลำน้ำ เส้นทางคมนาคมทางรถยนต์สะดวกขึ้น จึงลงหลักปักฐานเป็นการถาวร ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และอีกหลายจังหวัดที่อยู่ริมน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำป่าสัก โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครสวรรค์นั้น มีชุมชนมอญกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ และอำเภอพยุหคีรี (บ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหคีรี ยังคงมีการรวมตัวกันของชาวมอญ จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีมอญ เช่น จัดงานสงกรานต์ อันเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในจังหวัดนครสวรรค์ทุกวันนี้) โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ มีชุมชนมอญที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และประเพณีมอญที่โดดเด่น ได้แก่ “ชุมชนมอญบ้านมอญ” ตำบลบ้านแก่ง ซึ่งชาวบ้านทั่วไป ยังเรียกขานชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านมอญ” ที่สำคัญชาวมอญที่นี่ ยังคงสืบทอดงานเครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับการสืบทอดมา จากบรรพชนมอญติดตัวมา ตั้งแต่รามัญประเทศ มายังเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี และกระทั่งปักหลักอยู่ที่ บ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์แห่งนี้จวบจนปัจจุบัน




ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดนครสวรรค์

ในช่วงเทศกาลออกพรรษาของทุกปีวัดที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอโกรกพระ จะมีงานปิดทองไหว้พระและร่วมกันจัดให้มีการแข่งเรือยาวขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดเกาะหงษ์
ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ การแข่งเรือจะสนุกสนานและครึกครื้นด้วยเสียงเชียร์ของกองเชียร์ต่างๆ เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีและความสามารถของฝีพายที่นำเรือเข้าแข่งขัน เรือที่เข้าแข่งจะมีความยาวประมาณ 30 เมตร ระยะทางในการแข่งขัน ประมาณ 500 - 600 เมตร จำนวนฝีพาย 30 - 50 คน ลักษณะของเรือ ส่วนมากจะมีผ้าแพรสีต่างๆ และพวงมาลัยคล้องไว้ที่หัวเรือ ในขณะที่เรือได้ลงทำการแข่งขันอยู่นั้นก็จะได้มีการร้องเพลงพื้นบ้าน เพื่อเป็นการให้กำลังใจฝีพาย ที่ลงทำการแข่งขัน
ความสำคัญของประเพณีแข่งเรือคือ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสงานแข่งเรือ ซึ่งเป็นงานประจำปีปิดทองไหว้พระของเขาบวชนาค (วัดจอมคีรีนาคพรต) ช่วงเดือน ๑๑ โดยขบวนเสด็จประพาสต้นขาล่อง ในพระราชหัตเลขาทรงกล่าวว่า จอดที่หน้าวัดเขา ซึ่งราษฎรมาประชุมกันอยู่ที่นั้น น้ำท่วมสะพานหมดไม่มีที่ยืนต้องจอดเรืออยู่ แต่ราษฎรแข่งเรือกันสนุกสนานมาก การแข่งเรือที่นี้ มาแต่เช้าแข่งเรือกันทอดหนึ่งแล้วขึ้นไหว้พระ แล้วกลับลงมาแข่งเรืออีก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง จึงสรุปได้ว่าประเพณีการแข่งเรือจังหวัดนครสวรรค์ นั้นมีความสำคัญยิ่ง ประเพณีหนึ่ง ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่สืบไป
ปัจจุบันการแข่งเรือได้พัฒนา คือมีการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สนามแข่งเรือริมน้ำหน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ทำให้มีเรือสมัครเข้าทำการแข่งขันเป็นจำนวนมาก มาจากหลายจังหวัดในปี ๒๕๔๘ จังหวัดกำหนดให้มีการแข่งขันเรือตะเข้ชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นมา ซึ่งเรือตะเข้นี้จะแข่งกันในเวลากลางคืน นับเป็นปีแรกที่มีการจัดแข่งเรือตะเข้ เพื่อชิงเงินรางวัลกันในสนามเดียวกันนี้ซึ่งเกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น คนชมมากขึ้น นอกจากนี้ในเงินประเพณีแข่งเรือยังมีงานแสดงมหกรรมสินค้า และมีสวนสนุก ฯลฯ ให้เที่ยวชมกันอีกด้วยสร้างความสนุกเพลิดเพลิน และยิ่งใหญ่ของงาน ส่วนในวันตัดสินการแข่งขันเรือ จะทำการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ เป็นประจำทุกปี

ร้านอาหารในนครสวรรค์


สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ หรือว่าที่เดินทางไปภาคเหนือ หากมีเวลาหรือโอกาสที่ได้แวะพักที่จังหวัดนครสวรรค์ ลองแวะทานอาหารที่นครสวรรค์ดูบ้างครับ
อาหารจำพวกเนื้อปลาเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวจังหวัดนครสวรรค์ ที่นิยมกันมากได้แก่ เนื้อปลา กรายที่นำมาทำลูกชิ้น ทอดมัน หรือทอดกรอบทั้งตัว
อาหารที่นครสวรรค์อร่อยมากครับ ร้านอาหารที่แนะนำก็ มี ร้านระเบียงเรือ
จากในตัวเมืองนครสวรรค์ ให้เข้าถนนสายนครสวรรค์-โกรกพระ หลังจากนั้นให้ตรงไปเรื่อย ๆ ให้สังเกตจะเห็นร้านจ่าหมูจุ่มตั้งอยู่ทางด้านขวามือ ส่วนร้านระเบียงเรือ จะอยู่ตรงข้ามกับร้านจ่าหมูจุ่มอาหารที่ขึ้นชื่อของร้านก็มีปลากะพงระเบียงเรือ,ปลาช่อนกระบอก,สเต็กต่างๆ เปิดบริการ 11.00-23.00น.
ร้านชลลดาโต้รุ่ง ร้านนี้จะเป็นอาหารตามสั่งทุกชนิด อยู่ถนนสายพิษณุโลก-นครสวรรค์ เปิดบริการ17.00-01.00 น.
ร้านอาหารบ้านอีสานทางไปโกรกพระไปทางสะพานดำอาหารอร่อย บรรยากาศดี ราคาไม่แพงถูกมากที่จอดรถสะดวกสะบาย ร้านอาหารบ้านอีสาน มีเมนูแนะนำคือ ปลาช่อนเผาเกลือ, ส้มตำไข่เค็ม, ต้มยำไก่บ้านมะขามอ่อน, น้ำพริกกุ้งสด, ไก่นาทอดเกลือ
ร้านข้าวต้มนายเจือเป็นร้านข้าวต้มโต้รุ่งของนครสวรรค์ ร้านข้าวต้มนายเจือเปิดกิจการมานานหลายสิบปีแล้ว เมนูเด็ดสำหรับร้านนี้ที่จะขอแนะนำก็มี ห่อหมกทะเล หมูสับหนำเลี๊ยบ
พิมานค๊อฟฟี่ช๊อป เป็นร้านอาหารที่อยู่ในโรงแรมพิมาน ร้านอาหารนี้มีอาหารที่ค่อนข้างอร่อยมาก
ภัตตาคารโกยี เป็นร้านเก่าแก่ ขนาดใหญ่ ขายอาหาร ไทย-จีน มีเมนูอร่อยๆ มากมาย โดยเฉพาะเมนูที่ทำจากปลาแม่น้ำสดๆ สำหรับอาหารแนะนำ ก็ได้แก่ ปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียมพริกไทย , หมี่กรอบ , ลูกชิ้นปลากราย เปิดทุกวันเวลา 10.00-22.00 น.
ภัตตาคารเล่งหงษ์อยู่ในตัวเมืองนครสวรรค์ เข้าถนนมาตุลี ตรงไปบริเวณโรงเรียนนครสวรรค์ จะเห็นร้านอาหารเล่งหงษ์สุกี้ อยู่ทางด้านซ้ายมือ ฝั่งเดียวกับโรงเรียนนครสวรรค์ บนถนนมาตุลี
เมนูที่จะขอแนะนำก็มีปลาหิมะนึ่งซีอิ๊ว,ออส่วน,สลัดผลไม้กุ้ง,ปลาเนื้ออ่อนฉู่ฉี่กะทิสด
ภัตตาคารหงส์ฟ้าเป็นร้านอาหารไทย จีนสูตรแต้จิ๋ว เป็นร้านอาหารเก่าแก่ ที่อยู่คู่ชาวนครสวรรค์มานานหลายสิบปีแล้ว เป็นหนึ่งในเรื่องของรสชาติ เป็นอีกหนึ่งร้านที่จะขอแนะนำ

แม่น้ำเจ้าพระยา


ปากน้ำโพนครสวรรค์เมืองแห่งต้นแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อใครได้มาต้องมาเยี่ยมชมต้นแม่น้ำเจาพระยา แม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนไทยค่อนประเทศ ที่กลางตลาดปากน้ำโพ แม่น้ำสองสายที่เกิดจากการรวมตัวกันของแม่น้ำแควต่างๆน้อยใหญ่ ทางตอนเหนือของประเทศรวมกันมาเป็นแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านจึงทำให้เกิดเป็น จากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านที่ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ ที่จุดนี้นี่เองจะมองเห็นถึงความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองสายได้อย่างชัดเจน แม่น้ำน่านจะมีสีแดงขุ่น และแม่น้ำปิงจะมีสีเขียวคล้ำสดใส และจะค่อยๆรวมตัวกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย
นอกจากแม่น้ำปิงกับแม่น้ำน่านแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยายังเกิดจากการรวมตัวกันของแม่น้ำอีกสองสายคือแม่น้ำวังและแม่น้ำยมจึงทำให้เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศหล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยจากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน
ณ บริเวณเขื่อนริมต้นแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตลาดปากน้ำโพ จะเห็นทัศนียภาพอันสวยงามของแหลมยมและฝั่งตรงข้ามซึ่งมีศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ เป็นอาคารทรงเก๋งจีนตั้งอยู่ และจากจุดนี้นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือรับจ้างชมเรือนแพและชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน 2 ฝั่งแม่น้ำน่าน
ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดประมาณ 160,000 ตารางกิโลเมตร และมีความยาวประมาณ 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท

วัดในนครสวรรค์

วัดศรีอุทุมพร
เป็นวัดที่โด่งดังมากวัดหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง
หลวงพ่อจ้อย มีผู้คนในจังหวัดนับถือกันมาก
ประวัติหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ผู้เป็นพระแท้ของจังหวัดนครสวรรค์ผู้มีชื่อเสียงด้านพุทธคุณเลื่องลือไปไกลทั่วประเทศท่านมิได้นิยมอวดอ้างสรรพคุณ ตามหนังสือวงการพระเครื่องทั้งมิได้หลงไหลในทรัพย์สมบัติและลาภยศสรรเสริญกลับทุ่มเทชีวิตช่วงวัยชราอายุ 94 ปี ให้กับการพัฒนาวัดและโรงเรียนอีกทั้งถนนหนทางเพื่อสืบทอดพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ถือกำเนิดขึ้นวันอังคารที่ 8 เมษายน 2546 เป็นบุตรคนที่สองของนายแหยมนางบุญ ปานสีทา มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน ชาย 3 หญิง 3 บุตรชายทั้งสามล้วนอยู่ในเพศบรรพชิตทั้งสิ้นและได้ถึงมรณะภาพแล้ว 2 รูปคงเหลือแต่หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ องค์เดียวเท่านั้นซึ่งเป็นที่เคารพสักการะบูชาของศิษยา นุศิษย์ในจังหวัดนครสวรรค์และใกล้เคียง หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ อุปสมบทเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม2476 ที่วัดดอนหวาย ต.พลวงสองนาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี โดยมีพระปลัดตุ้ย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์ ์บุญธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชแล้วเริ่มศึกษาพระธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี,โท เริ่มศึกษาหลักสูตรพระอภิธรรมและวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่นากวัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อคูณปริสุทโธเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมาได้ศึกษา อยู่ที่วัดนี้ด้วยและหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้ศึกษาเพิ่มเติมจากวัดมหาธาตยุวราชรังสฤษฏ์กับพระอาจารย์เจซินซึ่งมาจากประเทศพม่าและได้ออกเดินทางไปศึกษาเวทย์มนต์คาถาอาคมจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อฉาบวัดคลองจั่น จ.ชัยนาท หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอมจ.นครปฐม และหลวงพ่อเดิมวัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครสวรรค์ในสมัยนั้น

ที่พักในนครสวรรค์


นครสวรรค์เป็นประตูเข้าสู่เขตภาคเหนือ มีประเพณีต่างๆในท้องถิ่นมากมาย แหล่งท่องเที่ยวก็ค่อนข้างมาก
ทั้งบึง ทั้งล่องแก่ง ทั้งภูเขา ถ้ำ น้ำตก
ในนครสวรรค์เองก็มีโรงแรมที่พักมากมาย ทั้งราคาถูก และ ราคาสูง
เช่นโรงแรมพิมาน ก็มีผับ มีบาร์ มีร้านข้าวต้ม
โรงแรมในเมืองก็มีมากกว่า 10 แห่ง รีสอร์ทก็มีมากมาย ทำให้นครสวรรค์เป็นดินแดนที่ครึกครื้น ของคนเดินทางที่ผ่านไปมาที่จะเข้าสู่ดินแดนภาคเหนือ เป็นแหล่งที่พักพิงของคนผ่านทาง
โรงแรมที่น่าพักก็มี
โรงแรมบ้านสวนรีสอร์ท สำหรับบรรยากาศของที่นี่ก็จะอากาศดีมากบรรยากาศเป็นธรรมชาติบรรยากาศภายในห้องพัก มีห้องเตียงเดี่ยว สำหรับพัก 2-3 ท่าน และห้องเตียงคู่ สำหรับพัก 4-6 ท่าน หรือหากต้องการพักแบบบ้านเป็นหลังใหญ่ มี 4 ห้อง ทางเรามีหลากหลายความต้องการให้ท่านได้เลือก ทุกห้องยังได้ตกแต่งในแบบล้านนา มีบริการอำนวยความสะดวกไว้ให้บริการ เช่น ฟรีอินเตอร์เน็ต ,ระบบปรับอากาศทุกห้อง ,ทีวีผ่านดาวเทียม และระบบปรับอากาศทุกห้อง
โรงแรมพิมาน ซึ่งเป็นโรงแรมที่มีบรรยากาศที่ทำให้ผู้เข้าพักรู้สึกผ่อนคลายแล้ว ที่โรงแรมพิมาน ยังมีบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกชั้นยอด ที่ถูกการันตีด้วย มาตรฐานของโรงแรมระดับ 3 ดาว ทำให้ท่านสามารถวางใจได้ว่าการพักผ่อนของท่านที่ครั้งนี้จะพิเศษกว่าครั้งใดๆ
โรงแรมไม้หอมรีสอร์ทตั้งอยู่ใจกลาง เมืองนครสวรรค์ ไม้หอมรีสอร์ท รีสอร์ทที่สร้างขึ้นเพื่อบริการแก่ผู้ที่มาท่องเที่ยวที่จังหวัดนครสวรรค์ เพราะด้วยบรรยากาศที่ร่มรื่นและเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ทำให้รู้สึกว่า กำลังพักผ่อนอยู่บริเวณชานเมืองหรือริมภูเขามากกว่าที่จะอยู่ในตัวเมือง
ใครจะไปรู้ว่ากลางตัวเมืองนครสวรรค์ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยตึกรามบ้านช่อง จะยังมีรีสอร์ทที่ร่มรื่นแห่งหนึ่งแฝงตัวอยู่ ไม้หอมรีสอร์ท รีสอร์ทที่สร้างขึ้นเพื่อบริการแก่ผู้ที่มาท่องเที่ยวที่จังหวัดนครสวรรค์ เพราะด้วยบรรยากาศที่ร่มรื่นและเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ทำให้รู้สึกว่ากำลังพักผ่อนอยู่บริเวณชานเมืองหรือริมภูเขามากกว่าที่จะอยู่ในตัวเมือง และด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพักแบบครบครัน ทั้งทีวี ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ ก็ยิ่งช่วยเสริมให้การพักผ่อนของคุณสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
สัมผัสบรรยากาศพักผ่อนที่แสนสบาย รายล้อมด้วยธรรมชาติและความเป็นส่วนตัวที่ไม้หอมรีสอร์ท ซึ่งมี concept ว่า หลับสบายกลางใจเมือง

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

บึงบอระเพ็ด


บึงบอระเพ็ดเป็นบึงขนาดใหญ่สุดของประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บึงบอระเพ็ดถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรมประมง ลักษณะทั่วไปของบึงมีความอุดมสมบูรณ์มากด้วยพืชน้ำสัตว์น้ำ และนกน้ำนานาชนิด ที่นี่มีปลาที่มีชื่อเสียงและหาได้ยาก และพบเพียงที่นี่แห่งเดียวเท่านั้นคือ ปลาเสือตอ และพันธุ์นกที่หาได้ยากได้แก่นกเจ้าฟ้าหญิงศิรินทร
ปลาเสือตอซึ่งเป็นปลาที่มีรสชาติหวานอร่อยมาก ในสมัยก่อนบึงบอระเพ็ดได้รับสมญานามว่า จองบึง และทะเลเหนือ
และมีชื่อเสียงขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเรื่องเป็นแหล่งน้ำที่มีจระเข้ชุกชุมที่สุด ในช่วงรถไฟวิ่งเรียบบึงบอระเพ็ด ถ้าผู้โดยสารโผล่หน้าออกมาด้านริมบึง จะพบฝูงจระเข้จำนวนหลายตัวขึ้นมานอนเกยฝั่งริมบึง ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์การเดินทางที่น่าตื่นเต้นประทับใจอย่างหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ แต่ในปัจจุบันไม่มีจระเข้ในบึงแล้ว เนื่องจากถูกพรานจระเข้ลักลอบจับนำเอาหนังไปขายอยู่เรื่อยๆ
ที่บึงบอระเพ็ดแห่งนี้ยังเป้นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศอีกด้วย ประมาณว่ามีพันธุ์ปลาต่าง ๆ อยู่ประมาณ 148 ชนิด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิดที่มาพักอาศัยอยู่ที่นี่เป็นประจำ ที่นี่ยังเป็นสถานที่ ที่เหมาะสำหรับกางเต๊นท์พักแรมสัมผัสบรรยากาศยามค่ำคืนและมีบริการเรือเช่าเพื่อไปชมดอกบัวและนกน้ำนานาชนิด
จุดท่องเที่ยวของที่นี่ก็มี
สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศูนย์แสดงสินค้าโอทอป อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงบอระเพ็ด อาคารแสดงพันธุ์จระเข้ โรงแสดงละครลิง กรงแสดงพันธุ์นกและสัตว์ โรงแสดงจระเข้เจ้าเข่งโชว์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด ท่าเรือบึงบอระเพ็ด บ้านพักรับรอง สถานที่กางเต๊น หาดทรายเทียม


งานตรุษจีนที่นครสวรรค์


เมื่อพูดถึงนครสวรรค์ในสมัยก่อนทุกคนจะนึกถึงบึงบอระเพ็ด บ้างก็นึกถึงแม่น้ำเจ้าพระยา นครสวรรค์มีประเพณีที่งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอย่างหนึ่งนั่นก็คือประเพณี ตรุษจีนนครสวรรค์
ประเพณีตรุษจีนที่นี่เป็นประเพณีตรุษจีนที่ใหญ่ระดับประเทศก็ว่าได้ เฉพาะวันแห่กลางวัน กลางคืน ทั่วทั้งเมืองจะมีแต่ผู้คนเนืองแน่นไปหมด ถนนทุกสายจะถูกปิดหมดเพื่อขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ ร้านค้าต่างๆในเมืองจะหยุดกิจการการค้าขายกันหมดเพื่อมาชมขบวนแห่ เพื่อมารอชมองสมมุติตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิม และขบวนแห่มังกรทองที่ยาวที่สุดในประเทศ องค์สมมุติตัวแทนของเจ้าแม่กวนอิมจะมีการคัดเลือกทุกปี โดยการเสี่ยงทาย
ประเพณีตรุษจีน ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ของทุกปีตามปฎิทินจีนเป็นประเพณีเกี่ยวกับการไหว้เจ้าบรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองปากน้ำโพ ที่นี่จะมีการแสดงที่ยิ่งใหญ่เป็นประจำของทุกปี
ตรุษจีนจองที่นี่ชาวนครสวรรค์จัดว่าเป็นพิธีที่สำคัญมาก ไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองเท่านั้นยังเป็นการบูชาเทพเจ้าของชาวปากน้ำโพด้วย เพราะจะมีการอัญเชิญเทพเจ้าจากศาลเจ้าแม่หน้าผา และเทพเจ้าจากศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิมมาแห่รอบตลาดด้วยเพื่อความเป็นสิริมงคลของที่นี่
งานตรุษจีนที่นครสวรรค์จะมี 12วัน 12คืน จะมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ในตอนกลางคืนคือวันชิวอิก และตอนกลางวันในวันชิวหยี ขบวนแห่จะยิ่งใหญ่มาก มีประมาณ 20 ขบวนกว่าๆ
ขบวนแห่ที่สำคัญ สำคัญก็มี ขบวนวงโยธวาทิตโรงเรียนนครสวรรค์ ขบวนธงมิตรภาพไทย-จีน ขบวนสิงโตกวางตุ้ง(ขบวนสิงโตกว๋องสิว) ขบวนสิงโตฮากกา ขบวนเสือไหหลำ ขบวนเด้กรำถ้วย ขบวนเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม ขบวนเจ้าพ่อเจ้าแม่หน้าผา ขบวนสาวงามถือธงเชี่ยเปีย ขบวนล่อโก้วสมาคมส่งเสริมดนตรีจีนปากน้ำโพ ขบวนสิงโตปักกิ่ง ขบวนรถประติมากรรมโคมไฟ วงโยธวาทิตโรงเรียนประชานุเคราะห์ ขบวนรถธิดามังกร ขบวนรถปฎิมากรรม ขบวนการแสดงโรงเรียนโพฒิสารศึกษา ขบวนการแสดงโรงเรียนลาซาลโชติรวี ขบวนการแสดงมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ขบวนล่อโก้วมูลนิธิปากน้ำโพประชานุเคราะห์ และที่เป็นไฮไลท์ของงานคือขบวนเอ็งกอ พะบู๊ ขบวนองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม ขบวนแห่มังกรทอง